เมนู

พวกโจรมีมาก" ปิดแล้วฝังตั้งไว้ในแผ่นดิน. ลำดับนั้น เศรษฐีมาจากที่
บำรุงแห่งพระราชาแล้ว กล่าวกะนางว่า " นางผู้เจริญ ฉันหิว, อะไร ๆ
มีไหม ?" นางนั้น ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ว่า " ไม่มี " กล่าวว่า " นาย
ข้าวสารมีอยู่ทะนานหนึ่ง."
เศรษฐี. ข้าวสารทะนานหนึ่งนั้น อยู่ที่ไหน ?
ภรรยา. ฉันฝั่งตั้งไว้ เพราะกลัวแต่โจร.
เศรษฐี. ถ้ากระนั้น หล่อนจงขุดมันขึ้นมาแล้ว หุงต้มอะไร ๆ เถิด.
ภรรยา. ถ้าเราจักต้มข้าวต้ม, ก็จักเพียงพอกัน 2 มื้อ; ถ้าเราจัก
หุงข้าวสวย, ก็จักเพียงพอเพียงมื้อเดียวเท่านั้น; ฉันจักหุงต้มอะไรล่ะ ? นาย.
เศรษฐี. ปัจจัยอย่างอื่นของพวกเราไม่มี, พวกเราต่อบริโภคข้าว
สวยแล้วก็จักตาย; หล่อนจงหุงข้าวสวยนั่นแหละ.
ภรรยาแห่งเศรษฐีนั้น หุงข้าวสวยแล้ว แบ่งให้เป็น 5 ส่วน
คดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี.

เศรษฐีถวายภัตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า


ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออก
จากสมาบัติ. ทราบว่า ในภายในสมาบัติ ความหิวย่อมไม่เบียดเบียน
เพราะผลแห่งสมาบัติ, แต่ว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายออกจาก
สมาบัติแล้ว ความหิวมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เป็นราวกะว่าเผาพื้นท้องอยู่;
เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ตรวจดูฐานะที่จะได้ (อาหาร)
แล้ว จึงไป.
ก็ในวันนั้น ชนทั้งหลาย ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้ว ย่อมได้สมบัติ บรรดาสมบัติมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นอย่างใดอย่าง

หนึ่ง; เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้น ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุ
ดำริว่า ฉาตกภัย เกิดขึ้นแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้น, และในเรือนเศรษฐี
เขาหุงข้าวสุก1อันสำเร็จด้วยข้าวสารทะนานหนึ่งเท่านั้นเพื่อคน 5 คน; ชน
เหล่านั้นจักมีศรัทธา หรืออาจเพื่อจะทำการสงเคราะห์แก่เราหรือหนอ
แล ? " เห็นความที่ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา ทั้งสามารถเพื่อจะทำการ
สงเคราะห์ จึงถือเอาบาตรจีวรไปแสดงตนยืนอยู่ที่ประตู (เรือน) ข้างหน้า
ของเศรษฐี. เศรษฐีนั้น พอเห็นท่านเข้าก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า " เรา
ประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ เพราะความที่เราไม่ให้ทานแม้ในกาลก่อน.
ก็แลภัตนี้พึงรักษาเราไว้สิ้นวันเดียวเท่านั้น, ส่วนภัตที่เราถวายแล้วแก่
พระผู้เป็นเจ้า จักนำประโยชน์เกื้อกูลมาแก่เราหลายโกฏิกัป " แล้วนำ
ถาดแห่งภัตนั้นออกมา เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางค-
ประดิษฐ์ นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน เมื่อท่านนั่งบนอาสนะแล้วจึงล้างเท้า
(ของท่าน) วาง (ถาดภัต) ไว้บนตั่งทอง แล้วถือเอาถาดภัตนั้น มา
ตักลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อภัตเหลือกึ่งหนึ่ง, พระปัจเจก-
พุทธเจ้า เอามือปิดบาตรเสีย.
ทีนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า " ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ นี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งข้าวสุกที่เขาหุงไว้เพื่อคน 5 คน ด้วยข้าวสาร
ทะนานหนึ่ง, กระผมไม่อาจเพื่อจะแบ่งภัตนี้ให้เป็น 2 ส่วน, ขอท่าน
จงอย่ากระทำการสงเคราะห์แก่กระผมในโลกนี้เลย, กระผมใคร่เพื่อจะ
ถวายไม่ให้มีส่วนเหลือ" แล้วได้ถวายภัตทั้งหมด. ก็แลครั้นถวายแล้ว
ได้ตั้งความปรารถนาว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอย่าได้ประสบ
1. แปลหักประโยคกรรมเป็นประโยคกัตตุ.

ฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในที่ข้าพเจ้าเกิดอีกเลย, ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าพึง
สามารถเพื่อจะให้ภัตอันเป็นพืชแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น, ไม่พึงทำการงาน
เลี้ยงชีพด้วยมือของตนเอง, ในขณะที่ข้าพเจ้าใช้ให้คนชำระฉาง 1,250
ฉางแล้ว สนานศีรษะนั่งอยู่ที่ประตูแห่งฉางเหล่านั้นแล้ว แลดูในเบื้องบน
เท่านั้น ธารแห่งข้าวสาลีแดง พึงตกลงมายังฉางทั้งหมดให้เต็มเพื่อ
ข้าพเจ้า, และผู้นี้นั่นแหละจงเป็นภรรยา, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นบุตร, ผู้นี้
นั่นแหละจงเป็นหญิงสะใภ้, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาสของข้าพเจ้า ใน
สถานที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว ๆ."

ทั้ง 5 คนปรารถนาให้ได้อยู่ร่วมกัน


ฝ่ายภรรยาของเศรษฐีนั้น ก็คิดว่า " เมื่อสามีของเราถูกความหิว
เบียดเบียนอยู่ เราก็ไม่อาจเพื่อจะบริโภคได้" จึงถวายส่วนของตนแก่
พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จำเดิม
แต่นี้ ดิฉันไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในสถานที่ดิฉันเกิดแล้ว, อนึ่ง
แม้เมื่อดิฉันวางถาดภัตไว้ข้างหน้า ให้อยู่ซึ่งภัตแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น,
ดิฉันยังไม่ลุกขึ้นเพียงใด, ที่แห่งภัตที่ดิฉันตักแล้ว ๆ จงเป็นของบริบูรณ์
อยู่อย่างเดิมเพียงนั้น, ท่านผู้นี้แหละจงเป็นสามี, ผู้นี้แหละจงเป็นบุตร,
ผู้นี้แหละจงเป็นหญิงสะใภ้, ผู้นี้แหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน)," แม้บุตร
ของเศรษฐีนั้น ก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความ
ปรารถนาว่า " จำเดิมแต่นี้ไป ข้าพเจ้าไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้,
อนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าถือเอาถุงกหาปณะหนึ่งพัน แม้ให้กหาปณะ แก่ชาว
ชมพูทวีปทั้งสิ้นอยู่ ถุงนี้จงเต็มอยู่อย่างเดิม, ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจง
เป็นมารดาบิดา, หญิงคนนี้จงเป็นภรรยา, ผู้นี้จงเป็นทาส ของข้าพเจ้า."